ข้อมูลนักวิจัย : ยสินทินี เอมหยวก

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ กรณีศึกษา น้ำค้างฟาร์ม
ปีที่จัดทำ : 2564
ผู้จัดทำ : ยสินทินี เอมหยวก ( ผู้ร่วมวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปี (2564)
วันที่ตีพิมพ์ : 2564
หน้าที่ : 544-551
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.20
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้ได้ทำการประเมินการก๊าซปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ กรณีศึกษา น้ำค้างฟาร์ม ตำบลบ้านแก่ง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยทำการแบ่งขอบเขตการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ใน 4 กระบวนการ ได้แก่ 1. กระบวนการฆ่าเชื้อเพื่อเตรียมโรงเรือน 2. กระบวนการรับแม่ไก่ 3. กระบวนการเลี้ยง และ 4. กระบวนการคัดไข่ จากผลการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์พบว่า ในกระบวนการคัดไข่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด คือ 1,872,486.12 kg CO2eq รองลงมาคือ กระบวนการเลี้ยงไก่ไข่ เท่ากับ 412,209.802 kg CO2eq กระบวนการรับแม่ไก่ เท่ากับ 76,987.057 kg CO2eq และกระบวนการฆ่าเชื้อเพื่อเตรียมโรงเรือน 95.895 kg CO2eq ตามลำดับ จากผลที่ได้ทำให้เกิดแนวทางการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่น้ำค้างฟาร์มมี 3 แนวทาง ได้แก่ วิธีแรกคือ มาตรการปรับเปลี่ยนการให้เวลาการให้อาหารไก่ สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้85.485 kgCO2eq มาตรการปรับเปลี่ยนพัดลมเป็นขนาด 750 W จำนวน 9 ตัว สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกได้ 883.534 kg CO2eq และมาตรการปรับเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบ LED ขนาด 5 W สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 31.314 kg CO2eq
หมายเหตุ :
จุฑารัตน์ อ่อนดี, ลักษณา พุกรอด, และยสินทินี เอมหยวก. (2564). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ กรณีศึกษา น้ำค้างฟาร์ม. ใน การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น. 544-551). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

เอกสารประกอบ