ข้อมูลนักวิจัย : อุสุมา พันไพศาล
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองบ้านน้ำใสใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่จัดทำ : 2562
ผู้จัดทำ : อุสุมา พันไพศาล (
เจ้าของงานวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 5 (ITECH CON 2019) ปี (2562)
วันที่ตีพิมพ์ : 11 ธ.ค. 2562
หน้าที่ : 162-166
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.2
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบกล่องและถุงให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านน้ำใสใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ผ้าหอของกลุ่มแม่บนเกษตรกรบ้านน้ำใสใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยแบ่งออกเป็นแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มผู้ผลิต แบบสอบถามความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค และแบบสอบถามความพึงพอใจขอผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่นิยมงานหัตถกรรมผ้าทอในจังหวัดอุตรดิตถ์และนักท่องเที่ยว โดยใช้การเปรียบเทียบตัวอย่างจากตารางการคำนวณหาขนาดตกลุ่มตัวอย่างของ Krejce, R.V, and Morgan, D.W. แทนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 80 คน ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบกล่องและถุงให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านน้ำใสใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้มีเอกลักษณ์และสอดคล้องกับการใช้งาน จากผลการศึกษาพบว่ารูปแบบและกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ตัวบรรจุภัณฑ์ การสื่อความหมายโดยรวม และการใช้สีและแบบอักษรสร้างความเป็นเอกภาพและเอกลักษณ์ให้กับสินค้าเป็นอย่างดี โดยมีเฉลี่ยจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล (x ̅) เท่ากับ 4.46, 4.22, 4.43, 4.16, 3.88 ตามลำดับซึ่งความพึงพอใจภาพลักษณ์โดยรวมของบรรจุภัณฑ์ พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับ x ̅ 4.25 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.08
ความสำคัญ : การออกแบบ, บรรจุภัณฑ์, หัตกรรม, ผ้าทอพื้นเมือง , จังหวัดอุตรดิตถ์
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบกล่องและถุงให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านน้ำใสใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ผ้าหอของกลุ่มแม่บนเกษตรกรบ้านน้ำใสใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยแบ่งออกเป็นแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มผู้ผลิต แบบสอบถามความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค และแบบสอบถามความพึงพอใจขอผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่นิยมงานหัตถกรรมผ้าทอในจังหวัดอุตรดิตถ์และนักท่องเที่ยว โดยใช้การเปรียบเทียบตัวอย่างจากตารางการคำนวณหาขนาดตกลุ่มตัวอย่างของ Krejce, R.V, and Morgan, D.W. แทนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 80 คน ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบกล่องและถุงให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านน้ำใสใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้มีเอกลักษณ์และสอดคล้องกับการใช้งาน จากผลการศึกษาพบว่ารูปแบบและกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ตัวบรรจุภัณฑ์ การสื่อความหมายโดยรวม และการใช้สีและแบบอักษรสร้างความเป็นเอกภาพและเอกลักษณ์ให้กับสินค้าเป็นอย่างดี โดยมีเฉลี่ยจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล (x ̅) เท่ากับ 4.46, 4.22, 4.43, 4.16, 3.88 ตามลำดับซึ่งความพึงพอใจภาพลักษณ์โดยรวมของบรรจุภัณฑ์ พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับ x ̅ 4.25 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.08
ความสำคัญ : การออกแบบ, บรรจุภัณฑ์, หัตกรรม, ผ้าทอพื้นเมือง , จังหวัดอุตรดิตถ์
หมายเหตุ :
ผู้ร่วมวิจัย
อังกาบ บุญสูง
พิชินาถเส็งเมือง
ผู้ร่วมวิจัย
อังกาบ บุญสูง
พิชินาถเส็งเมือง
เอกสารประกอบ
# | ชื่อเอกสาร |
---|---|
1 | การออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองบ้านน้ำใสใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ |