ข้อมูลนักวิจัย : ภานุวัฒน์ ขันจา

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่จัดทำ : 2562
ผู้จัดทำ : ภานุวัฒน์ ขันจา ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : บทความวิจัยระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ และโทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ปี (2562)
วันที่ตีพิมพ์ : ม.ค.- มิ.ย. 62
หน้าที่ : 13-25
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.6
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกร และเพื่อหาประสิทธิภาพ ของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในกลไกการตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้การวิจัย เชิงปฏิบัติการในการศึกษาสถานการณ์ในชุมชน และนําความรู้ที่มีอยู่ไปใช้แก้ปัญหาตามบริบทของพื้นที่ อันจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการทําเกษตรของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนหลงลับแล โดยดําเนินการวิเคราะห์ ระบบและออกแบบฐานข้อมูลสําหรับการรวบรวมข้อมูลเกษตรกร ผลผลิตทุเรียนหลงลับแล การรวมกลุ่ม เกษตรกร ช่องทางการตลาด และข้อมูลการติดต่อสื่อสาร และส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้ระบบทํางานด้วยตนเอง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสําหรับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน ที่จะสนับสนุนความสามารถ ของเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบระบบฐานข้อมูลสามารถแยกเป็นโปรแกรมย่อย 8 โมดูล คือ 1) โมดูลบริหารจัดการข้อมูลสมาชิก 2) โมดูลจัดการพื้นที่แปลงเพาะปลูกทุเรียน 3) โมดูลจัดการข้อมูลผลผลิต ทุเรียนรายปี 4) โมดูลรายงานผลและติดตามข้อมูล 5) โมดูลรายงานเอกสารและสั่งพิมพ์เอกสาร 6) โมดูล ระบบจัดการข้อมูลสําหรับสมาชิกระบบ 7) โมดูลจัดการข้อมูลสําหรับผู้ดูแลระบบ และ 8) โมดูลระบบวิเคราะห์ ความเคลื่อนไหวการใช้ระบบ ส่วนด้านการออกแบบแอปพลิเคชันสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้ได้ 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหาร ข้อมูล 2) ผู้บริหาร, หัวหน้ากลุ่ม 3) เกษตรกร และ 4) บุคคลทั่วไป ผลการพัฒนาระบบมีความสมบูรณ์อยู่ใน ระดับมากที่สุด สามารถใช่งานได้ในทุกโมดูลและมีเสถียรภาพในการประมวลผล และผลการประยุกต์ใช้ระบบ สารสนเทศมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ระบบมีจุดเด่นในการกําหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของ ผู้ใช้งานที่สามารถสนับสนุนผู้ใช้เป็นระดับสมาชิก กลุ่ม และสิทธิ์การใช้ทั้งระบบ จึงสามารถบริหารจัดการสมาชิก ได้อย่างอิสระ ควรพัฒนาต่อในด้านการประกอบการตัดสินใจ ซึ่งมีความพึงพอใจน้อยที่สุดเนื่องจากข้อจํากัด ด้านการสํารวจข้อมูลทําให้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนการตัดสินใจได้
หมายเหตุ :
TCI กลุ่ม 2
https://tci-thailand.org/list%20journal.php

เอกสารประกอบ