ข้อมูลนักวิจัย : ปกรณ์ เข็มมงคล

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การประดิษฐ์เครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ในการจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มระดับรายแปลง บนพื้นที่ปลูก ทุเรียน ตำบลแม่พูล จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่จัดทำ : 2563
ผู้จัดทำ : ปกรณ์ เข็มมงคล ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการระดับชาติสู่การพัฒนาชุมชนฉลาดในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 1 (nSCAP2020) 10 ปี adiCET กับการพัฒนาพลังงานเพื่อท้องถิ่น ณ วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจ และ 5 เทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม ปี (2563)
วันที่ตีพิมพ์ : 20-21 ก.พ. 63
หน้าที่ : 196-204
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.2
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
พื้นที่แปลงปลูกทุเรียนหลง-หลินลับแลมีลักษณะเป็นวนเกษตร คือปลูกตามพื้นที่สูงของอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะตำบลแม่พูล การปลูกนั้นเริ่มตั้งแต่พื้นที่ลาดเชิงเขา จนถึงยอดเขา กลมกลืนไปกับป่าไม้ตามธรรมชาติ แต่เมื่อปี 2549 พื้นที่ดังกล่าวได้ประสบกับภัยพิบัติดินโคลนถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมากรวมถึงพื้นที่ปลูกทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบเครื่องมือช่วยรังวัดแบบง่าย ให้เกษตรกรสามารถใช้งานด้วยตัวเองได้ โดยสร้างแอพพลิเคชั่นช่วยป้อนข้อมูล คำนวณ และการแสดงผลบนแผนที่ออนไลน์ โดยได้เก็บข้อมูลจากการค้นคว้าข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่วนเกษตร และพบปะกับเกษตรกร แกนนำเครือข่ายภัยพิบัติ จนสามารถออกแบบเครื่องมือที่สอดคล้องกับความต้องการ มีความเหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่วนเกษตร สามารถระบุได้ทั้งค่าพิกัดแกน x, y หรือแนวพิกัดฉาก ออก-ตก, เหนือ-ใต้ และค่า Z หรือค่าระดับความสูง โดยการรังวัดค่าอาซิมุทหรือค่ามุมราบที่วัดออกจากทิศเหนือจากเข็มทิศแม่เหล็ก และวัดระยะทางจากเครื่องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Range-Finder) เพื่อนำมาคำนวณหาค่าพิกัด แนวราบ ส่วนการรังวัดความสูงสามารถคำนวณได้จากการรังวัดมุมดิ่งและระยะทาง มีค่าความคลาดเคลื่อนจากความละเอียดของเครื่องวัดระยะคือ 0.1 เมตร และความละเอียดของมุมมิ่งคือ 0.5 องศา เมื่อนำค่าที่มีโอกาสอ่านคลาดเคลื่อนสูงสุดมาคำนวณความลาดพบว่าจะมีมุมลาดผิดไปเกินร้อยละ 20 ที่ความสูงต่ำกว่า 5 เมตร จึงได้กำหนดเป็นข้อจำกัดของการใช้งาน อีกทั้งได้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่สามารถรับการป้อนข้อมูลจากการรังวัด โดยโปรแกรมจะทำการคำนวณเป็นค่าความลาดชัน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของความเสี่ยงการเกิดดินถล่ม จากนั้นส่งข้อมูลเข้าแมพเซอร์เวอร์ (Map Server) แสดงเป็นแผนที่ออนไลน์

คำสำคัญเครื่องรังวัด 3 มิติ, แผนที่เสี่ยงดินถล่มระดับรายแปลง, แผนที่ออนไลน์
หมายเหตุ :
ปกรณ์ เข็มมงคล, และธีรศักดิ์ อุปการ. (2563). การประดิษฐ์เครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ในการจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มระดับรายแปลง บนพื้นที่ปลูกทุเรียน ตำบลแม่พูล จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสู่การพัฒนาชุมชนฉลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 1 (nSCAP2020). (น. 196-204). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอกสารประกอบ