ข้อมูลนักวิจัย : ปกรณ์ เข็มมงคล
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การออกแบบแอปพลิเคชัน สำหรับเครื่องรังวัด 3 มิติ ในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มของเกษตรกร ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่จัดทำ : 2563
ผู้จัดทำ : ปกรณ์ เข็มมงคล (
เจ้าของงานวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
บทความวิจัยระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี) ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 ปี (2563)
วันที่ตีพิมพ์ : ม.ค. - มิ.ย. 63
หน้าที่ : 111-124
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.8
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยประมวลผลจากเครื่องรังวัด 3 มิติอย่างง่าย เป็นเครื่องมือสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการระบบแจ้งเตือนภัยดินถล่ม บนพื้นที่สวนวนเกษตรของตำบลแม่พูล อันประกอบไปด้วยทุเรียนและลางสาดเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ข้อมูลจากเครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ด้วยการนำข้อมูลที่เกษตรกรได้ลงพื้นที่รังวัดพื้นที่ ป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อให้แอปพลิเคชันประมวลผลข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ระยะจากจุดตั้งกล้องถึงจุดรังวัด 2) มุมอาซิมุท และ 3) มุมถึง โดยคำนวณเป็นค่าระดับความเสี่ยงดินถล่มจากค่าความลาดชัน ร่วมกับค่าพิกัดสถานที่ตั้งจากระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) ค่าความเสี่ยงดินถล่มสามารถแสดงเป็นผลต่างของสีบนตำแหน่งบนแผนที่ภูมิประเทศ ผลการทดสอบพบว่ามีค่าความผิดพลาดอยู่สองส่วนใหญ่ๆ คือ 1) ค่าผิดพลาดเชิงตำแหน่ง อันเป็นผลเนื่องมาจากระบบระบุตำแหน่ง มีค่าไม่เกิน 5 เมตร หรือตามคุณสมบัติของเครื่อง 2) ค่าผิดพลาดเชิงมุม อันเป็นผลมาจากอุปกรณ์รังวัด 2 ส่วน คือ การวัดระยะด้วยเลเซอร์ซึ่งอ่านค่าได้ละเอียด 0.1 เมตรและการวัดค่ามุมดึงอ่านตามความละเอียดของเข็มทิศได้ 0.5 องศา ดังนั้นการออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อประมวลผลจึงพิจารณาค่าความผิดพลาดที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงสุด ซึ่งเมื่อนำค่าดังกล่าวมาใช้คำนวณความลาดพบว่ามุมลาดที่มีค่าผิดพลาดมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 20 จากความสูงตํ่ากว่า 5 เมตร มุมลาด 30 องศา ระยะทางการวัด 100 เมตร ดังนั้นค่าความผิดพลาดที่พบนี้จึงได้กำหนดให้เป็นข้อจำกัดของการใช้งาน
คําสําคัญ: แอปพลิเคชัน, การมีส่วนร่วม, แผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยประมวลผลจากเครื่องรังวัด 3 มิติอย่างง่าย เป็นเครื่องมือสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการระบบแจ้งเตือนภัยดินถล่ม บนพื้นที่สวนวนเกษตรของตำบลแม่พูล อันประกอบไปด้วยทุเรียนและลางสาดเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ข้อมูลจากเครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ด้วยการนำข้อมูลที่เกษตรกรได้ลงพื้นที่รังวัดพื้นที่ ป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อให้แอปพลิเคชันประมวลผลข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ระยะจากจุดตั้งกล้องถึงจุดรังวัด 2) มุมอาซิมุท และ 3) มุมถึง โดยคำนวณเป็นค่าระดับความเสี่ยงดินถล่มจากค่าความลาดชัน ร่วมกับค่าพิกัดสถานที่ตั้งจากระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) ค่าความเสี่ยงดินถล่มสามารถแสดงเป็นผลต่างของสีบนตำแหน่งบนแผนที่ภูมิประเทศ ผลการทดสอบพบว่ามีค่าความผิดพลาดอยู่สองส่วนใหญ่ๆ คือ 1) ค่าผิดพลาดเชิงตำแหน่ง อันเป็นผลเนื่องมาจากระบบระบุตำแหน่ง มีค่าไม่เกิน 5 เมตร หรือตามคุณสมบัติของเครื่อง 2) ค่าผิดพลาดเชิงมุม อันเป็นผลมาจากอุปกรณ์รังวัด 2 ส่วน คือ การวัดระยะด้วยเลเซอร์ซึ่งอ่านค่าได้ละเอียด 0.1 เมตรและการวัดค่ามุมดึงอ่านตามความละเอียดของเข็มทิศได้ 0.5 องศา ดังนั้นการออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อประมวลผลจึงพิจารณาค่าความผิดพลาดที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงสุด ซึ่งเมื่อนำค่าดังกล่าวมาใช้คำนวณความลาดพบว่ามุมลาดที่มีค่าผิดพลาดมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 20 จากความสูงตํ่ากว่า 5 เมตร มุมลาด 30 องศา ระยะทางการวัด 100 เมตร ดังนั้นค่าความผิดพลาดที่พบนี้จึงได้กำหนดให้เป็นข้อจำกัดของการใช้งาน
คําสําคัญ: แอปพลิเคชัน, การมีส่วนร่วม, แผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
หมายเหตุ :
ปกรณ์ เข็มมงคล. (2563). การออกแบบแอปพลิเคชัน สำหรับเครื่องรังวัด 3 มิติ ในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มของเกษตรกร ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี), 15(1), 111-124.
ปกรณ์ เข็มมงคล. (2563). การออกแบบแอปพลิเคชัน สำหรับเครื่องรังวัด 3 มิติ ในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มของเกษตรกร ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี), 15(1), 111-124.