ข้อมูลนักวิจัย : พงษ์ธร วิจิตรกูล

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การศึกษาพฤติกรรมของไฟที่ผ่านแนวอับเชื้อเพลิงจากแบบจำลองการลุกลามของไฟโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลอเมนต์, กรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่จัดทำ : 2563
ผู้จัดทำ : พงษ์ธร วิจิตรกูล ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6” มหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม ปี (2563)
วันที่ตีพิมพ์ : 17-18 ส.ค. 63
หน้าที่ : 29-37
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.2
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
บทความนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการลุกลามของไฟเมื่อผ่านแนวอับเชื้อเพลิง หรือแนวกันไฟ โดยใช้แบบจำลองการลุกลามของไฟด้วยระเบียบวิธีไฟในต์เอลิเมนต์ ที่มีความละเอียด 30x30 ตารางเซนติเมตร โดยการสร้างแบบจำลองพื้นที่เพาะปลูกในที่ราบของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยอาศัยข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี และข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม ที่มีการเริ่มจุดไฟเผาเศษเหลือใช้จากการเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบถัดไป ซึ่งส่งผลต่อการเกิดปัญหาหมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย การสร้างแนวอับเชื้อเพลิงเป็นวิธีจัดการทิศทางการลุกลามของไฟ และควบคุมความรุนแรงของไฟที่เกิดจากการเผาไหม้และการลุกลาม ซึ่งจากการศึกษาที่ได้จำลองการลุกลามของไฟที่มีแนวอับเชื้อเพลิง หรือแนวกันไฟ โดยเปรียบเทียบพฤติกรรมไฟก่อนและหลังผ่านแนวอับเชื้อเพลิง ผลการวิจัยพบว่าค่าความรุนแรงของไฟถูกลดลงในช่วงร้อยละ 10-20 ของค่าความรุนแรงไฟก่อนมีการลุกลามเข้าแนวอับเชื้อเพลิง จากค่าความรุนแรงไฟ 160-180 w/m2 ลดลงต่ำสุดเหลือ 130-140 w/m2 และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องทิศทางของไฟในขณะที่กำลังผ่านแนวอับเชื้อเพลิงถูกเปลี่ยนจากการลุกลามไปด้านหน้าเป็นการลุกลามไปด้านข้าง และลุกลามแบบย้อนหลังซึ่งในการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก เกษตรกรไทยสามารถใช้แนวอับเชื้อเพลิงหรือแนวกันไฟเพื่อลดความรุนแรงของไฟ และเป็นการควบคุมทิศทาง การลุกลามของไฟในพื้นที่เพาะปลูกได้ และยังส่งผลต่อการลดปริมาณหมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทยได้อีกด้วย

คำสำคัญ: แนวอับเชื้อเพลิง, การลุกลามของไฟ, ความรุนแรงของไฟ, ระเบียบวิธีไฟในต์เอลิเมนต์
หมายเหตุ :
พงษ์ธร วิจิตรกูล. (2563). การศึกษาพฤติกรรมของไฟที่ผ่านแนวอับเชื้อเพลิงจากแบบจำลองการลุกลามของไฟโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลอเมนต์, กรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6”. (น. 29-37). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

เอกสารประกอบ