ข้อมูลนักวิจัย : ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การพัฒนาเครื่องอบแห้งโดยใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์พลอยได้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว
ปีที่จัดทำ : 2564
ผู้จัดทำ : ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ (
เจ้าของงานวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการ The 7th Engagement Thailand Annual Conference 2021 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ปี (2564)
วันที่ตีพิมพ์ : 2564
หน้าที่ : 506-513
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.20
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
อุตสาหกรรมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นกิจการหนึ่งที่มีการใช้พลังงานสูง จากการใช้ไอน้ำในกระบวนการนึ่งเส้นและอบแห้ง อีกทั้งมีของเสียเหลือทิ้งจากกระบวนการตัดเส้น ซึ่งจะมีเศษเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ได้ขนาด บิด งอเสียรูป เป็นจำนวนมาก จากปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นที่มาของการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างทีมนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยกับบุคลากรด้านการผลิต รวมทั้งผู้บริหารโรงงานเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหานี้ จากการค้นคว้าเอกสารและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พบว่าเศษเส้นก๋วยเตี๋ยวสามารถนำมาแปรรูปเป็นโจ๊ก หรืออาหารสัตว์แห้งที่มีมูลค่าสูงได้ โดยใช้เทคโนโลยีอบแห้งซึ่งต้องใช้ความร้อนและด้วยกระบวนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีไอน้ำเหลือทิ้งที่ประมาณอุณหภูมิ 120 °C ทีมผู้วิจัยจึงนำเอาไอน้ำเหลือทิ้งนี้มาใช้เป็นแหล่งให้ความร้อนป้อนให้กับเครื่องอบแห้ง พร้อมทั้งร่วมกันออกแบบเครื่องให้มีความสะดวกต่อใช้งาน ภายในเครื่องจะมีการติดตั้งใบกวนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอบแห้งให้ทั่วถึง และมีระบบควบคุมอุณหภูมิและตั้งเวลาในการทำงานของเครื่องได้ ผลลัพธ์จากงานนี้ คือได้เครื่องอบแห้งที่อาศัยความร้อนเหลือทิ้งจากระบบมาใช้เป็นพลังงาน สร้างผลิตภัณฑ์พลอยได้ คือ เศษเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งสำหรับการนำไปผลิตโจ๊ก และอาหารสัตว์ โดยเป็นการแก้ปัญหาของเสียจากกระบวนการผลิตเศษเส้นก๋วยเตี๋ยว และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อุตสาหกรรมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นกิจการหนึ่งที่มีการใช้พลังงานสูง จากการใช้ไอน้ำในกระบวนการนึ่งเส้นและอบแห้ง อีกทั้งมีของเสียเหลือทิ้งจากกระบวนการตัดเส้น ซึ่งจะมีเศษเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ได้ขนาด บิด งอเสียรูป เป็นจำนวนมาก จากปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นที่มาของการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างทีมนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยกับบุคลากรด้านการผลิต รวมทั้งผู้บริหารโรงงานเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหานี้ จากการค้นคว้าเอกสารและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พบว่าเศษเส้นก๋วยเตี๋ยวสามารถนำมาแปรรูปเป็นโจ๊ก หรืออาหารสัตว์แห้งที่มีมูลค่าสูงได้ โดยใช้เทคโนโลยีอบแห้งซึ่งต้องใช้ความร้อนและด้วยกระบวนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีไอน้ำเหลือทิ้งที่ประมาณอุณหภูมิ 120 °C ทีมผู้วิจัยจึงนำเอาไอน้ำเหลือทิ้งนี้มาใช้เป็นแหล่งให้ความร้อนป้อนให้กับเครื่องอบแห้ง พร้อมทั้งร่วมกันออกแบบเครื่องให้มีความสะดวกต่อใช้งาน ภายในเครื่องจะมีการติดตั้งใบกวนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอบแห้งให้ทั่วถึง และมีระบบควบคุมอุณหภูมิและตั้งเวลาในการทำงานของเครื่องได้ ผลลัพธ์จากงานนี้ คือได้เครื่องอบแห้งที่อาศัยความร้อนเหลือทิ้งจากระบบมาใช้เป็นพลังงาน สร้างผลิตภัณฑ์พลอยได้ คือ เศษเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งสำหรับการนำไปผลิตโจ๊ก และอาหารสัตว์ โดยเป็นการแก้ปัญหาของเสียจากกระบวนการผลิตเศษเส้นก๋วยเตี๋ยว และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
หมายเหตุ :
ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ, พิทวัส ทรงอุดมลักษณ์, และภคมน ปินตานา. (2564). การพัฒนาเครื่องอบแห้งโดยใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์พลอยได้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว. ใน การประชุมวิชาการ The 7th Engagement Thailand Annual Conference 2021 (น. 506-513). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ, พิทวัส ทรงอุดมลักษณ์, และภคมน ปินตานา. (2564). การพัฒนาเครื่องอบแห้งโดยใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์พลอยได้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว. ใน การประชุมวิชาการ The 7th Engagement Thailand Annual Conference 2021 (น. 506-513). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เอกสารประกอบ
# | ชื่อเอกสาร |
---|---|
1 | การพัฒนาเครื่องอบแห้งโดยใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์พลอยได้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว |