ข้อมูลนักวิจัย : ชัชพล เกษวิริยะกิจ
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข่า กรณีศึกษาตำบลนางพญา จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่จัดทำ : 2564
ผู้จัดทำ : ชัชพล เกษวิริยะกิจ (
เจ้าของงานวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา ปี (2564)
วันที่ตีพิมพ์ : 2564
หน้าที่ : 1-10
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.20
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร และความเข้าใจตระหนักรู้ถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกและการแปรรูปผลผลิตข่าในท้องถิ่น ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้ปลูกข่า จำนวน 100 ชุด ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการผลิตข่า ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการผลิตข่า และความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกและการแปรรูปผลผลิตข่า พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อายุระหว่าง 41 ถึง 50 ปี มีการศึกษาต่ำระดับมัธยมตอนต้น มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท และมีพื้นที่ปลูกข่าโดยเฉลี่ยร้อยละ 34 ของพื้นที่ครัวเรือน ส่วนด้านปัจจัยภายในพบว่า วิธีการจัดการทำความสะอาดหรือการแปรรูปผลผลิตก่อนขายเกษตรกรให้ความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.53 รองลงมาเป็นเรื่องอุปสรรคความยุ่งยากในขั้นตอนการทำงาน ที่ค่าเฉลี่ย 4.42 และปัจจัยภายนอกในด้านสุขภาพจากสภาวะแวดล้อมทำให้ปวดเมื่อยสายตา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.61 รองลงมาเป็น ด้านข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการทำความสะอาดสินค้า มีค่าเฉลี่ย 4.30 และสำหรับด้านความตระหนักรู้ถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรขาดความตระหนักรู้ในด้านการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ในการเพาะปลูก และการดำเนินการภาษีที่เอื้อต่อเกษตรกร จึงควรมีการส่งเสริมจากผู้เกี่ยวข้อง จากปัจจัยหลักสองด้านที่กล่าวมา จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาออกแบบสร้างเครื่องล้างหัวข่าด้วยเทคโนโลยีการฉีดแรงดันน้ำ การขัด หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเกษตรกรต่อไป
ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร และความเข้าใจตระหนักรู้ถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกและการแปรรูปผลผลิตข่าในท้องถิ่น ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้ปลูกข่า จำนวน 100 ชุด ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการผลิตข่า ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการผลิตข่า และความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกและการแปรรูปผลผลิตข่า พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อายุระหว่าง 41 ถึง 50 ปี มีการศึกษาต่ำระดับมัธยมตอนต้น มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท และมีพื้นที่ปลูกข่าโดยเฉลี่ยร้อยละ 34 ของพื้นที่ครัวเรือน ส่วนด้านปัจจัยภายในพบว่า วิธีการจัดการทำความสะอาดหรือการแปรรูปผลผลิตก่อนขายเกษตรกรให้ความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.53 รองลงมาเป็นเรื่องอุปสรรคความยุ่งยากในขั้นตอนการทำงาน ที่ค่าเฉลี่ย 4.42 และปัจจัยภายนอกในด้านสุขภาพจากสภาวะแวดล้อมทำให้ปวดเมื่อยสายตา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.61 รองลงมาเป็น ด้านข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการทำความสะอาดสินค้า มีค่าเฉลี่ย 4.30 และสำหรับด้านความตระหนักรู้ถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรขาดความตระหนักรู้ในด้านการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ในการเพาะปลูก และการดำเนินการภาษีที่เอื้อต่อเกษตรกร จึงควรมีการส่งเสริมจากผู้เกี่ยวข้อง จากปัจจัยหลักสองด้านที่กล่าวมา จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาออกแบบสร้างเครื่องล้างหัวข่าด้วยเทคโนโลยีการฉีดแรงดันน้ำ การขัด หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเกษตรกรต่อไป
หมายเหตุ :
ชัชพล เกษวิริยกิจ. (2564). แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข่า กรณีศึกษาตำบลนางพญา จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ชัชพล เกษวิริยกิจ. (2564). แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข่า กรณีศึกษาตำบลนางพญา จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.