ข้อมูลนักวิจัย : อรุณเดช บุญสูง
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : ความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบค่ากำลังรับแรงอัดคอนกรีตแบบทำลายกับการประเมินโดยวิธีค้อนกระแทก
ปีที่จัดทำ : 2564
ผู้จัดทำ : อรุณเดช บุญสูง (
เจ้าของงานวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
บทความวิจัยระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 44(4) ปี (2564)
วันที่ตีพิมพ์ : ตุุลาคม-ธันวาคม 2564
หน้าที่ : 623-634
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.08
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาค่ากำลังแรงอัดประลัยที่ได้มาจากการทดสอบแบบทำลายและแบบไม่ทำลายโดยวิธีการประเมินค่าสะท้อนจากเครื่องมือค้อนกระแทกแบบสมิดท์ที่อายุการบ่มคอนกรีตเท่ากับ 7, 14, 21, 28, 90 และ 120 วัน ในแง่ของการออกแบบส่วนผสมคอนกรีตกำหนดให้มีค่ากำลังรับแรงอัดประลัย (fcʼ) เป้าหมายที่อายุการบ่ม 28 วัน เท่ากับ 240 ksc การทดสอบ ค่ากำลังรับแรงอัดแบบทำลายได้จากก้อนตัวอย่าง 3 ลักษณะ ได้แก่ ก้อนตัวอย่างทรงลูกบาศก์ทรงกระบอก และทรงกระบอกจากการเจาะแก่น ผลการศึกษา พบว่า ค่ากำลังรับแรงอัดประลัยจากการทดสอบแบบทำลายในช่วงอายุการบ่มเท่ากับ 7 วัน มีการพัฒนากำลังเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยมีค่ามากกว่า 60% ของกำลังรับแรงอัดประลัยออกแบบที่อายุการบ่ม 28 วัน ส่วนค่ากำลังรับแรงอัดประลัยโดยวิธีแบบไม่ทำลายมีค่าอยู่ในช่วง 199.0 ksc ถึง 367.2 ksc ที่่อายุการบ่ม 7 ถึง 120 วัน โดยการพัฒนาความแข็งของพื้นผิวคอนกรีตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุการบ่มครบ 7 วัน ส่งผลให้ค่ากำลังรับแรงอัดประลัยช่วงต้นมีค่าค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบกับผลการทดสอบก่อนตัวอย่างทรงกระบอก และทรงกระบอกจากการเจาะแก่น นอกจากนั้นยังพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดประลัยที่ได้จากการทดสอบก้อนตัวอย่างทรงลูกบาศก์ และทรงกระบอก ให้ค่าที่สูงกว่าการประเมินด้วยค่าการสะท้อน 24% และ 9% ตามลำดับ ในขณะที่ค่ากำลังรับแรงอัดประลัยที่ได้จากการทดสอบก้อนตัวอย่างแบบเจาะแก่นให้ค่าที่ต่ำกว่า 20% โดยประมาณ ค่ากำลังรับแรงอัดประลัยจากการทดสอบแบบทำลายกับแบบไม่ทำลายมีความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ในรูปแบบสมการพอลิโนเมียล
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาค่ากำลังแรงอัดประลัยที่ได้มาจากการทดสอบแบบทำลายและแบบไม่ทำลายโดยวิธีการประเมินค่าสะท้อนจากเครื่องมือค้อนกระแทกแบบสมิดท์ที่อายุการบ่มคอนกรีตเท่ากับ 7, 14, 21, 28, 90 และ 120 วัน ในแง่ของการออกแบบส่วนผสมคอนกรีตกำหนดให้มีค่ากำลังรับแรงอัดประลัย (fcʼ) เป้าหมายที่อายุการบ่ม 28 วัน เท่ากับ 240 ksc การทดสอบ ค่ากำลังรับแรงอัดแบบทำลายได้จากก้อนตัวอย่าง 3 ลักษณะ ได้แก่ ก้อนตัวอย่างทรงลูกบาศก์ทรงกระบอก และทรงกระบอกจากการเจาะแก่น ผลการศึกษา พบว่า ค่ากำลังรับแรงอัดประลัยจากการทดสอบแบบทำลายในช่วงอายุการบ่มเท่ากับ 7 วัน มีการพัฒนากำลังเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยมีค่ามากกว่า 60% ของกำลังรับแรงอัดประลัยออกแบบที่อายุการบ่ม 28 วัน ส่วนค่ากำลังรับแรงอัดประลัยโดยวิธีแบบไม่ทำลายมีค่าอยู่ในช่วง 199.0 ksc ถึง 367.2 ksc ที่่อายุการบ่ม 7 ถึง 120 วัน โดยการพัฒนาความแข็งของพื้นผิวคอนกรีตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุการบ่มครบ 7 วัน ส่งผลให้ค่ากำลังรับแรงอัดประลัยช่วงต้นมีค่าค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบกับผลการทดสอบก่อนตัวอย่างทรงกระบอก และทรงกระบอกจากการเจาะแก่น นอกจากนั้นยังพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดประลัยที่ได้จากการทดสอบก้อนตัวอย่างทรงลูกบาศก์ และทรงกระบอก ให้ค่าที่สูงกว่าการประเมินด้วยค่าการสะท้อน 24% และ 9% ตามลำดับ ในขณะที่ค่ากำลังรับแรงอัดประลัยที่ได้จากการทดสอบก้อนตัวอย่างแบบเจาะแก่นให้ค่าที่ต่ำกว่า 20% โดยประมาณ ค่ากำลังรับแรงอัดประลัยจากการทดสอบแบบทำลายกับแบบไม่ทำลายมีความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ในรูปแบบสมการพอลิโนเมียล
หมายเหตุ :
อรุณเดช บุญสูง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบค่ากำลังรับแรงอัดคอนกรีตแบบทำลายกับการประเมินโดยวิธีค้อนกระแทก. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 44(4), 623-634.
อรุณเดช บุญสูง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบค่ากำลังรับแรงอัดคอนกรีตแบบทำลายกับการประเมินโดยวิธีค้อนกระแทก. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 44(4), 623-634.
เอกสารประกอบ
# | ชื่อเอกสาร |
---|---|
1 | ความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบค่ากำลังรับแรงอัดคอนกรีตแบบทำลายกับการประเมินโดยวิธีค้อนกระแทก |