ข้อมูลนักวิจัย : เจนศักดิ์ คชนิล

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การพัฒนาคอนกรีตที่สามารถต้านทานกรดสำหรับประยุกต์ใช้ในฟาร์มสุกร
ปีที่จัดทำ : 2563
ผู้จัดทำ : เจนศักดิ์ คชนิล ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 6ประจำปี 2563 “วิจัยและพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง” ปี (2563)
วันที่ตีพิมพ์ : 25 มี.ค. 2563
หน้าที่ : 811-819
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.2
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาคอนกรีตที่สามารถต้านทานกรดสำหรับประยุกต์ใช้เป็นพื้นฟาร์มสุกร ดำเนินการโดยใช้วัสดุปอซโซลาน ในที่นี้คือเถ้าลอยจากแหล่งโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง แทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน ได้แก่ ร้อยละ 10(FA10), 20(FA20), และ 30(FA30) โดยน้ำหนักในการผสมคอนกรีต เทียบกับคอนกรีตปกติ (OPC) กำหนดให้ค่ากำลังอัดแบบแท่งคอนกรีตทรงกระบอกที่อายุ 28 วันเท่ากับ 240 ksc ค่าการยุบตัวเท่ากับ 10+2.5 cm อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน wb เท่ากับ0.61 ภายหลังผสมคอนกรีตเสร็จทำการบ่มคอนกรีตจนอายุ 28 วัน นำคอนกรีตไปแช่สารละลายกรดซัลฟิวริคที่มีค่า pH เท่ากับ 2-2.5 เป็นระยะเวลา 5, 10, 15, และ 20 วัน ถ่ายภาพลักษณะทางกายภาพของก้อนคอนกรีต ชั่งน้ำหนักก้อนคอนกรีต และทดสอบกำลังรับแรงอัดของก้อนคอนกรีต ผลการวิจัยพบว่า คอนกรีต OPC, FA10, FA20 และ FA30 ที่แช่กรดเป็นเวลา 5, 10, 15, และ 20 วัน มีสภาพพื้นผิวที่ขรุขระ มีรูพรุนทั่วทั้งก้อน มีผงฝุ่นสีขาวเกาะอยู่รอบๆ และหล่นอยู่ที่ก้นภาชนะที่แช่คอนกรีต สภาพคอนกรีตที่ถูกกัดกร่อนจากมากไปหาน้อย คือ OPC, FA10, FA20 และ FA30 เรียงตามลำดับ คอนกรีตมีน้ำหนักลดลงเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ OPC(1.53%), FA10(1.229%). FA20(0.00%), และ FA30 (0.37%) เรียงตามลำดับ กำลังอัดของคอนกรีตที่แช่กรดเป็นเวลา 20 วัน สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ FA20(388.50 ksc), FA10 (331.60 ksc), OPC(303.02 ksc), และ FA30(284.80 ksc) เรียงตามลำดับ ดังนั้นปริมาณเถ้าลอยที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 10-20 สำหรับประยุกต์ใช้เป็นคอนกรีตที่สามารถต้านทานกรดสำหรับประยุกต์ใช้ในฟาร์มสุกรได้

คำสำคัญ: คอนกรีต เถ้าลอย การต้านทานกรด
หมายเหตุ :
เจนศักดิ์ คชนิล, อรุณเดช บุญสูง, ปกรณ์ เกตุอินทร์. (2563). การพัฒนาคอนกรีตที่สามารถต้านทานกรดสำหรับประยุกต์ใช้ในฟาร์มสุกร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 6ประจำปี 2563 “วิจัยและพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง”. (น. 811-819). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เอกสารประกอบ