ข้อมูลนักวิจัย : อำนาจ ตงติ๊บ

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การออกแบบอุปกรณ์เปิดม่านพิธีอัตโนมัติผ่านการควบคุมด้วยระบบวายฟาย
ปีที่จัดทำ : 2564
ผู้จัดทำ : อำนาจ ตงติ๊บ ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมทางวิชาการระดับชาติราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2564 “ความท้าทายทางการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมท้องถิ่นวิถีใหม่” ปี (2564)
วันที่ตีพิมพ์ : 2564
หน้าที่ : 1085-1092
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.20
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างอุปกรณ์เปิดผ้าม่านอัตโนมัติผ่านการควบคุมด้วยระบบวายฟาย ในการออกแบบและสร้างได้อาศัยความต้องการจากผู้ประกอบการที่รับจัดงานพิธีต่างๆ ซึ่งในงานนั้นมีการใช้ผ้าม่าน จากการลงพื้นที่เพื่อหา ข้อมูลพบว่าโดยปกติแล้วการเปิดผ้าม่านจำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานคนในการทำงานซึ่งในบางครั้งคนที่ทำหน้าที่เปิดม่านนั้นอาจจะรบกวนการถ่ายภาพหรือวีดีโอที่ผู้จัดงานต้องการเก็บไว้ จากสาเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาในการออกแบบอุปกรณ์เพื่อแก้ปัญหา ส่วนประกอบของอุปกรณ์มี 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ชุดมอเตอร์ส่งกำลัง แบตเตอรี่และชุดควบคุมการรับ-ส่งสัญญาณ โดยในการออกแบบนั้น ชุดมอเตอร์ที่นำมาใช้มีขนาด 35 วัตต์ที่ความเร็ว 50 รอบต่อนาที ซึ่งสามารถสร้างแรงบิดได้ 6.68 นิวตัน·เมตร ในขณะที่แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแหล่งหลังงานจ่ายไฟที่ 12 โวลย์ขนาด 9 แอมแปร์-ชั่วโมง ซึ่งสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้ 30-60 วันต่อการชาร์ทไฟหนึ่งครั้ง ในส่วนของชุดควบคุมการรับ-ส่งสัญญาณนั้นได้ใช้โทรศัพท์มือถือสั่งการผ่านหน้าจอไปยังตัวรับสัญญาณที่เป็นไมโครคอนโทลเลอร์ (NodeMCU) ด้วยสัญญาณวายฟาย จากผลการทดสอบพบว่าความเร็วของม่านอยู่ที่ 0.3 เมตรต่อวินาที โดยที่น้ำหนักของม่านที่ใช้ทดสอบอยู่ที่ 0.121 กิโลกรัม ระยะทางจากโทรศัพท์มือถือที่ใช้สั่งการกับอุปกรณ์ที่ทดสอบอยู่ที่ 5 เมตร การตอบสนองของสัญญาณยังอยู่ในช่วงที่พอรับได้เนื่องงานที่ใช้อุปกรณ์ไม่ได้จำเป็นในเรื่องของการตอบสนองในทันทีและขนาดของอุปกรณ์เปิดผ้าม่าน อยู่ที่ 20×30×20 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดกระทัดรัดเหมาะแก่เคลื่อนย้ายในการใช้จัดงานพิธีและสามารถติดตั้งกับผ้าม่านได้ง่าย
หมายเหตุ :
อำนาจ ตงติ๊บ, ยสินทินี เอมหยวก, นัฐพงษ์ เนินชัด, และพจน์ ชัยอ้าย. (2564). การออกแบบอุปกรณ์เปิดม่านพิธีอัตโนมัติผ่านการควบคุมด้วยระบบวายฟาย. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2564 “ความท้าทายทางการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมท้องถิ่นวิถีใหม่” (น.1085-1092). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เอกสารประกอบ