ข้อมูลนักวิจัย : อังกาบ บุญสูง

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การออกแบบบรรจุภัณฑ์รองเท้าผ้าไหมแบรนด์วาลีดีไซน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่จัดทำ : 2561
ผู้จัดทำ : อังกาบ บุญสูง ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : บทความวิจัยระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม: เทพสตรี I-TECH ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 ปี (2561)
วันที่ตีพิมพ์ : ก.ค.-ธ.ค. 2561
หน้าที่ : 129-137
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.6
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์รองเท้าผ้าไหมแบรนด์วาลีดีไซน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวที่มีต่อบรรจุภัณฑ์รองเท้าผ้าไหมแบรนด์วาลีดีไซน์ จากการศึกษาลักษณะเฉพาะถิ่นของผ้าไหมทางด้าน ลวดลาย สี กรรมวิธีการผลิต และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านการแปรรูปจนถึงการตกแต่งผลิตภัณฑ์รองเท้าผ้าไหม พบว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ชาวลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์มีลักษณะการทอผ้าตีนจก ส่วนใหญ่จะทำไปใช้เป็นเชิงของผ้าซิ่น ซึ่งจะมี 3 ส่วน คือส่วนซิ่น ส่วนตัวซิ่น และส่วนเชิงซิ่น ผู้วิจัยจึงนำลายเคี๊ยะซึ่งเป็นลายจากเชิงซิ่นผ้าทอมือจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบกับใช้สีม่วงซึ่งสีประจำของกลุ่มและเป็นสีประจำจังหวัดอุตรดิตถ์มาเป็นสีหลักของกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ประกอบลวดลายดอกบัวตูมที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มท่าบัวมาใช้ในการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ ในส่วนของการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีความสะดวกต่อการนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ ที่มีต่อโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการผลิตจริง ปรากฏว่า โครงสร้างรูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมากที่สุด จากนั้นจึงนำแบบที่ได้จากการคัดเลือก มาทำการเขียนแบบการผลิต ทดลองทำต้นแบบ และนำข้อมูลไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มผู้ผลิตแบรนด์วาลีดีไซน์ เมื่อได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมจึงนำไปเก็บข้อมูลสอบถามความพึงพอใจจากกลุ่มผู้บริโภคและผู้จำหน่าย ในด้านรูปแบบและโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วยประเด็น บรรจุภัณฑ์มีความสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของผลิตภัณฑ์สินค้า โครงสร้างตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีความสะดวกต่อการขนส่ง ความแข็งแรงสามารถป้องกันสินค้าและง่ายต่อการเก็บรักษา มีความสะดวกต่อการนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ การเลือกใช้วัสดุและกรรมวิธีการผลิตมีความเหมาะสมกับต้นทุน และด้านกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วย ความพึงพอใจที่มีต่อตราสินค้า และความพึงพอใจที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ จากข้อมูลที่ได้เมื่อสรุปผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในภาพรวมทั้งหมด พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับที่ดีมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40
หมายเหตุ :
TCI กลุ่ม 2

ลิงค์บทความ
http://202.28.120.31/ojs/index.php/tru-i-tech/article/view/62