ข้อมูลนักวิจัย : ศุทธินี กล่อมแสร์
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การพัฒนาเครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับผ้าทอพื้นเมือง
ปีที่จัดทำ : 2561
ผู้จัดทำ : ศุทธินี กล่อมแสร์ (
เจ้าของงานวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
บทความวิจัยระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม: เทพสตรี I-TECH ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 ปี (2561)
วันที่ตีพิมพ์ : ก.ค.-ธ.ค. 2561
หน้าที่ : 91-101
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.6
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ออกแบบและพัฒนาเครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมือง 2.ทดสอบหาประสิทธิภาพเครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมือง และ 3.ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านร่องยางที่มีต่อการใช้เครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมือง การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสามส่วนตามวัตถุประสงค์ โดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1.การออกแบบและพัฒนาเครื่องกรอด้ายแบบดรัม ประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ โครงเครื่องกรอด้าย ชุดลำเลียงด้าย ชุดแขนกรอ ชุดกลไกขับลูกดรัมและชุดควบคุมเครื่องกรอด้ายแบบดรัม การทำงานของเครื่องกรอด้ายแบบ ดรัมมีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 90 วัตต์ แบบปรับความเร็ว 1,500 รอบต่อนาที เป็นต้นกำลังในการขับลูกดรัมให้เกิดการหมุน เพื่อดึงเส้นด้ายจากชุดลำเลียงด้ายเข้าสู่หลอดกรอ และมีไทเมอร์เป็นตัวตั้งเวลาการเปิด-ปิด เพื่อกำหนดการทำงาน ซึ่งผลการประเมินการออกแบบและพัฒนาเครื่องกรอด้ายแบบดรัมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับมากที่สุด 2.การทดสอบหาประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องกรอด้ายแบบดรัม แบ่งผลการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดสอบประสิทธิภาพการกรอด้ายพุ่งและด้ายยืน พบว่า การกรอด้ายพุ่งและด้ายยืนด้วยเครื่องกรอด้ายแบบดรัมที่ความเร็วมอเตอร์ 1,500 รอบต่อนาที มีประสิทธิภาพคิดเป็น 1.83 และ 1.48 เท่าของการกรอด้ายด้วยเครื่องกรอด้ายไฟฟ้าแบบดั่งเดิม และการประเมินการใช้งานของเครื่องกรอด้ายแบบดรัมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยการใช้งานโดยรวมเท่ากับ 4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3.การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานเครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมืองของสมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านร่องยาง จำนวน 7 คน พบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมเท่ากับ 4.45 อยู่ในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่า เครื่องกรอด้ายแบบดรัมได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ออกแบบและพัฒนาเครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมือง 2.ทดสอบหาประสิทธิภาพเครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมือง และ 3.ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านร่องยางที่มีต่อการใช้เครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมือง การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสามส่วนตามวัตถุประสงค์ โดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1.การออกแบบและพัฒนาเครื่องกรอด้ายแบบดรัม ประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ โครงเครื่องกรอด้าย ชุดลำเลียงด้าย ชุดแขนกรอ ชุดกลไกขับลูกดรัมและชุดควบคุมเครื่องกรอด้ายแบบดรัม การทำงานของเครื่องกรอด้ายแบบ ดรัมมีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 90 วัตต์ แบบปรับความเร็ว 1,500 รอบต่อนาที เป็นต้นกำลังในการขับลูกดรัมให้เกิดการหมุน เพื่อดึงเส้นด้ายจากชุดลำเลียงด้ายเข้าสู่หลอดกรอ และมีไทเมอร์เป็นตัวตั้งเวลาการเปิด-ปิด เพื่อกำหนดการทำงาน ซึ่งผลการประเมินการออกแบบและพัฒนาเครื่องกรอด้ายแบบดรัมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับมากที่สุด 2.การทดสอบหาประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องกรอด้ายแบบดรัม แบ่งผลการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดสอบประสิทธิภาพการกรอด้ายพุ่งและด้ายยืน พบว่า การกรอด้ายพุ่งและด้ายยืนด้วยเครื่องกรอด้ายแบบดรัมที่ความเร็วมอเตอร์ 1,500 รอบต่อนาที มีประสิทธิภาพคิดเป็น 1.83 และ 1.48 เท่าของการกรอด้ายด้วยเครื่องกรอด้ายไฟฟ้าแบบดั่งเดิม และการประเมินการใช้งานของเครื่องกรอด้ายแบบดรัมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยการใช้งานโดยรวมเท่ากับ 4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3.การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานเครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมืองของสมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านร่องยาง จำนวน 7 คน พบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมเท่ากับ 4.45 อยู่ในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่า เครื่องกรอด้ายแบบดรัมได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
หมายเหตุ :
TCI กลุ่ม 2
ลิงค์บทความ
http://202.28.120.31/ojs/index.php/tru-i-tech/article/view/58/53
TCI กลุ่ม 2
ลิงค์บทความ
http://202.28.120.31/ojs/index.php/tru-i-tech/article/view/58/53