ข้อมูลนักวิจัย : รัชดา คำจริง
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังและเตือนภัยธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมจังหวัดอุตรดิตถ์.
ปีที่จัดทำ : 2563
ผู้จัดทำ : รัชดา คำจริง (
เจ้าของงานวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
บทความวิจัยระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : วารสาร วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 ปี (2563)
วันที่ตีพิมพ์ : ก.ค. - ส.ค. 63
หน้าที่ : 272-288
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.8
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังและเดือนภัยธรรมชาติจังหวัดอุตรดิตถ์ กระบวนการวิจัยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาควิชาการสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์และUTT TEAM โดยระบบสารสนเทศที่พัฒนาสามารถใช้สำหรับการเฝ้าระวังและเตือนภัยธรรมชาติ 3 ประเภท คือ 1) อุทกภัย 2) แผ่นดินถล่ม และ 3) ไฟป่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการเกิดภัยธรรมชาติมาจากการใช้ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางที่มีข้อมูลสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลอัตโนมัติแบบตามเวลาจริงจากเครื่องมือ 5 ชิ้น ที่พัฒนา คือ 1) เครื่องตรวจวัดสภาพแวดล้อม 2) เครื่องตรวจวัดปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำย่อย และ 3) เครื่องมือรังวัดและเตือนภัยแผ่นดินถล่ม การทำงานของระบบสารสนเทศสามารถวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์สาธารณภัยขั้นต้นให้กับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประมวลผลข้อมูลการเตือนภัยต่าง ๆ ดังนี้ 1) การเตือนภัยอุทกภัย จากข้อมูลปริมาณความสูงของระดับน้ำท่าในลุ่มน้ำย่อยซึ่งส่งมาทุกๆนาที 2 การเตือนภัยแผ่นดินถล่ม จากข้อมูลระดับความลาดชันซึ่งส่งมาทุกสัปดาห์ และ 3) การเตือนภัยไฟป่า จากข้อมูลจุดความร้อนซึ่งส่งมาทุก 3 ชั่วโมง ทำให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ และ UTT TEAM สามารถติดตามสถานการณ์และเตือนภัยธรรมชาติได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังและเดือนภัยธรรมชาติจังหวัดอุตรดิตถ์ กระบวนการวิจัยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาควิชาการสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์และUTT TEAM โดยระบบสารสนเทศที่พัฒนาสามารถใช้สำหรับการเฝ้าระวังและเตือนภัยธรรมชาติ 3 ประเภท คือ 1) อุทกภัย 2) แผ่นดินถล่ม และ 3) ไฟป่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการเกิดภัยธรรมชาติมาจากการใช้ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางที่มีข้อมูลสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลอัตโนมัติแบบตามเวลาจริงจากเครื่องมือ 5 ชิ้น ที่พัฒนา คือ 1) เครื่องตรวจวัดสภาพแวดล้อม 2) เครื่องตรวจวัดปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำย่อย และ 3) เครื่องมือรังวัดและเตือนภัยแผ่นดินถล่ม การทำงานของระบบสารสนเทศสามารถวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์สาธารณภัยขั้นต้นให้กับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประมวลผลข้อมูลการเตือนภัยต่าง ๆ ดังนี้ 1) การเตือนภัยอุทกภัย จากข้อมูลปริมาณความสูงของระดับน้ำท่าในลุ่มน้ำย่อยซึ่งส่งมาทุกๆนาที 2 การเตือนภัยแผ่นดินถล่ม จากข้อมูลระดับความลาดชันซึ่งส่งมาทุกสัปดาห์ และ 3) การเตือนภัยไฟป่า จากข้อมูลจุดความร้อนซึ่งส่งมาทุก 3 ชั่วโมง ทำให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ และ UTT TEAM สามารถติดตามสถานการณ์และเตือนภัยธรรมชาติได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
หมายเหตุ :
รัชดา คำจริง, และศักดิ์ดา หอมหวล. (2563). ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังและเตือนภัยธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 12(4), 272-288.
รัชดา คำจริง, และศักดิ์ดา หอมหวล. (2563). ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังและเตือนภัยธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 12(4), 272-288.
เอกสารประกอบ
# | ชื่อเอกสาร |
---|---|
1 | ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังและเตือนภัยธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมจังหวัดอุตรดิตถ์ |