ข้อมูลนักวิจัย : ไพโรจน์ นะเที่ยง

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : กระบวนการตัดสับฟางและตอซังร่วมกับการบริหารจัดการธาตุอาหารพืชในระบบนาน้ำขัง
ปีที่จัดทำ : 2563
ผู้จัดทำ : ไพโรจน์ นะเที่ยง ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : บทความวิจัยระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ปี (2563)
วันที่ตีพิมพ์ : ก.ค. - ธ.ค. 63
หน้าที่ : 89-107
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.6
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
การเผาทำลายฟางและตอซังหลังการเก็บเกี่ยวส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์โครงสร้างและสมบัติทางเคมีของดินนาในระยะยาว ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการไถกลบฟางและตอซังแบบตัดสับในอัตราส่วนปกติ 700 ก.ก./ไร่ ร่วมกับการบริหารจัดการธาตุอาหารพืชต่อสมบัติทางเคมีของดินนาบางประการหลังการปลูกปริมาณผลผลิตและต้นทุนการผลิตโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกจํานวน 4 ตำหรับ ๆ ละ 3ซ้ำ ผลการทดลองพบว่าการไถกลบฟางและตอซังแบบตัดสับในอัตราส่วนปกติร่วมกับการบริหารจัดการธาตุพืชที่มีการใช้สารชีวภัณฑ์และปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน 25 ก.ก./ไร่มีผลทำให้ค่าpH เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเฉลี่ย 0.4-0.6 หน่วย pH ค่าอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย (0 1-029%) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดินมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติค่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับค่าปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ปริมาณผลผลิตมีจำนวนรวงต่อกอโดยเฉลี่ย 40-42 รวง/กอจำนวนเมล็ดดีต่อรวงโดยเฉลี่ย 105-110 เมล็ด/รวงและน้ำหนักของเมล็ดข้าว/100 เมล็ดโดยเฉลี่ย 3.60-3.68 กรัมที่ค่าความชื้น 25.327 % ซึ่งให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าตำหรับควบคุมโดยมีต้นทุนการทำนาเฉลี่ยเพียง 6,102 บาท/ไร่

คำสำคัญ : ฟางและตอซัง การจัดการธาตุอาหารพืช, ระบบนาน้ำขัง
หมายเหตุ :
ไพโรจน์ นะเที่ยง, จันทร์เพ็ญ ชุมแสง, กันต์ อินทุวงศ์. (2563). กระบวนการตัดสับฟางและตอซังร่วมกับการบริหารจัดการธาตุอาหารพืชในระบบนาน้ำขัง. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 14(2), 89-107.

เอกสารประกอบ