ข้อมูลนักวิจัย : พิทักษ์ คล้ายชม

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การจัดการกากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น กรณีศึกษา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่จัดทำ : 2564
ผู้จัดทำ : พิทักษ์ คล้ายชม ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : บทความวิจัยระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : ปี (2564)
วันที่ตีพิมพ์ : 2564
หน้าที่ : 84-97
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.60
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
ปริมาณกากเปลือกที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มีการกำจัดด้วยการเผาในพื้นที่โล่งแจ้งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาการจัดการกากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น กรณีศึกษา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิด ปริมาณ องค์ประกอบทางเคมีของเชื้อเพลิงกากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยใช้แบบสำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ในพื้นที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของเชื้อเพลิง (Proximate Analysis) สัดส่วนของธาตุ (Ultimate Analysis) ในกากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และเพื่อทดสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยตัวชี้วัดทางเคมีของมลภาวะทางอากาศที่ระบายออกจากปล่องเตาเผากากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ด้วยวิธีการเผาตรง และการเผาด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น ทำการตรวจวัดปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ก๊าซออกซิเจน (O2)
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ปริมาณความชื้น ค่าความเข้ม ฝุ่นละออง (TSP) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทางเคมีของเชื้อเพลิงกากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 (ศก. 60-1) และพันธุ์ศรีสะเกษ 60-2 (ศก. 60-2) มีค่าความชื้น 9.09 % ปริมาณเถ้า 2.39 % สารระเหย 88.28 % คาร์บอนคงตัว 0.24 % ปริมาณคาร์บอน (C) 54.09 % ไฮโดรเจน (H) 6.008 % ออกซิเจน (O) 38.45 % ไนโตรเจน (N)1.38 % และค่าความร้อน 5,071.10 Kcal/Kg ปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่อง ที่เกิดจากการเผากากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วยวิธีเผาตรง มีค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 1.0 ppm ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) มีค่า 103.9 ppm อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ส่วนค่าความเข้มฝุ่นละออง (TSP) 648.329 mg/m3 และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) มีค่า 844.0 ppm เกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด เมื่อนำกากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาแก๊สซิไฟเออร์แบบไหลลงที่มีระบบทำความสะอาดโปรดิวเซอร์แก๊ส พบว่า มีค่าความเข้มฝุ่นละออง (TSP) 2.532 mg/m3 ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 1.0 ppm ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) 8.1 ppm และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 65.0 ppm มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกำหนดทุกพารามิเตอร์ จึงมีความเหมาะสมในการนำกากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาแก๊สซิไฟเออร์แบบไหลลง ที่มีระบบทำความสะอาดโปรดิวเซอร์แก๊ส เพื่อกำจัดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ และปริมาณเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เหลือทิ้งจากแปรรูปมะม่วงหิมพานต์ในอำเภอท่าปลาปีละ 4,900 ตัน สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในเตาแก๊สซิไฟเออร์แบบไหลลง เพื่อนำพลังงานความร้อนที่ได้ไปใช้ในกระบวนการแปรรูปเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ได้
หมายเหตุ :
พิทักษ์ คล้ายชม, สิงหเดช แตงจวง, และพรทิพพา พิญญาพงษ์. (2564). การจัดการกากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น กรณีศึกษา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 10(1), 84-97

เอกสารประกอบ