ข้อมูลนักวิจัย : พงษ์ธร วิจิตรกูล
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การสร้างเครื่องอัดขยะโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่จัดเก็บขยะในชุมชนจังหวัดน่าน
ปีที่จัดทำ : 2562
ผู้จัดทำ : พงษ์ธร วิจิตรกูล (
เจ้าของงานวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยนครปฐม “วิจัยสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย สู่ Disruptive society” ปี (2562)
วันที่ตีพิมพ์ : 11-12 ก.ค. 62
หน้าที่ : 1920-1929
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.2
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
บทความนี้นำเสนอขั้นตอนการออกแบบ และพัฒนาต้นแบบเครื่องอัดขยะมูลฝอยที่สามารถผลิตและใช้ในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายตามพื้นที่ชุมชนสามารถผลิตและซ่อมแซมได้ด้วยตนเอง กระบวนการคิดวิเคราะห์จะทำโดยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย คือฝ่ายนักวิชาการ ฝ่ายชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อทำการร่วมวิเคราะห์หาแนวทางการออกแบบและพัฒนาต้นแบบเครื่องอัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับชุมชน โดยข้อมูลจากครัวเรือนตัวอย่างในชุมชนป่าคา จังหวัดน่าน จำนวน 15 ครัวเรือน พบว่าขยะส่วนใหญ่ที่ชุมชนต้องการทำการอัดก้อนคือ ขยะจำพวกกระป๋อง อลูมิเนียม และขวดพลาสติก ที่จำหน่วยทั่วไปตามท้องตลาด มีค่าความต้านทานประมาณ 6 เมกะปาสคาล ส่วนขวดพลาสติกมีค่าความต้านทานต่อการเสียรูปสูงสุดประมาณ 3 เมกะปาสคาล จากนั้นทำการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของอุปกรณ์สร้างแรงกดเพื่อหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมในชุมชนคือแม่แรงกระปุกไฮโดรลิก จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาออกแบบและพัฒนาเครื่องอัดขยะที่สามารถอัดขยะก้อนให้มีขนาด 30 x 30 x 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งทำให้สะดวกในการจัดเก็บและเคลื่อนย้าย เมื่อนำไปขยายผลสู่ชุมชนพบว่าเครื่องอัดขยะสามารถเพิ่มประภาพการจัดเก็บขยะในหน่วยพื้นที่ได้มากขึ้น 300 % ของการจัดเก็บเดิม ทำให้ขยะที่เป็นปัญหาการจัดเก็บในแบบเก่า ไม่เกิดขึ้นอีก และสามารถนำมาขายสร้างรายได้แก่ชุมชนได้อีกด้วย
คำสำคัญ : ขยะมูลฝอย ค่าความต้านทานต่อการเสียรูปสูงสุด ระบบไฮโดรลิก
บทความนี้นำเสนอขั้นตอนการออกแบบ และพัฒนาต้นแบบเครื่องอัดขยะมูลฝอยที่สามารถผลิตและใช้ในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายตามพื้นที่ชุมชนสามารถผลิตและซ่อมแซมได้ด้วยตนเอง กระบวนการคิดวิเคราะห์จะทำโดยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย คือฝ่ายนักวิชาการ ฝ่ายชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อทำการร่วมวิเคราะห์หาแนวทางการออกแบบและพัฒนาต้นแบบเครื่องอัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับชุมชน โดยข้อมูลจากครัวเรือนตัวอย่างในชุมชนป่าคา จังหวัดน่าน จำนวน 15 ครัวเรือน พบว่าขยะส่วนใหญ่ที่ชุมชนต้องการทำการอัดก้อนคือ ขยะจำพวกกระป๋อง อลูมิเนียม และขวดพลาสติก ที่จำหน่วยทั่วไปตามท้องตลาด มีค่าความต้านทานประมาณ 6 เมกะปาสคาล ส่วนขวดพลาสติกมีค่าความต้านทานต่อการเสียรูปสูงสุดประมาณ 3 เมกะปาสคาล จากนั้นทำการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของอุปกรณ์สร้างแรงกดเพื่อหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมในชุมชนคือแม่แรงกระปุกไฮโดรลิก จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาออกแบบและพัฒนาเครื่องอัดขยะที่สามารถอัดขยะก้อนให้มีขนาด 30 x 30 x 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งทำให้สะดวกในการจัดเก็บและเคลื่อนย้าย เมื่อนำไปขยายผลสู่ชุมชนพบว่าเครื่องอัดขยะสามารถเพิ่มประภาพการจัดเก็บขยะในหน่วยพื้นที่ได้มากขึ้น 300 % ของการจัดเก็บเดิม ทำให้ขยะที่เป็นปัญหาการจัดเก็บในแบบเก่า ไม่เกิดขึ้นอีก และสามารถนำมาขายสร้างรายได้แก่ชุมชนได้อีกด้วย
คำสำคัญ : ขยะมูลฝอย ค่าความต้านทานต่อการเสียรูปสูงสุด ระบบไฮโดรลิก
หมายเหตุ :
เอกสารประกอบ
# | ชื่อเอกสาร |
---|---|
1 | การสร้างเครื่องอัดขยะโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่จัดเก็บขยะในชุมชนจังหวัดน่าน |