ข้อมูลนักวิจัย : ดุษฎี บุญธรรม

รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การเพิ่มมูลค่าใบสับปะรดเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยเครื่องแยกเส้นใย
ปีที่จัดทำ : 2564
ผู้จัดทำ : ดุษฎี บุญธรรม ( เจ้าของงานวิจัย )
ประเภทงานวิจัย : การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ : งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการ The 7th Engagement Thailand Annual Conference 2021 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ปี (2564)
วันที่ตีพิมพ์ : 2564
หน้าที่ : 544-549
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.20
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกสับปะรดห้วยมุ่นมีเนื้อที่ปลูก 13,257 ไร่ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด โดยหลังการเก็บเกี่ยวผลสับปะรดจะมีการรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่จะต้องทำการเตรียมดินเพื่อปลูกสับปะรด มักจะใช้รถไถดันจนซากต้นไม้ใบหญ้ากลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพื่อให้เศษซากพืชเน่าสลายในดิน หรือเผาทำลายซึ่งเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรซึ่งส่งผลต่อผลกำไรที่ได้รับ สำหรับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ใบ เหง้า หน่อ จุก เป็นต้น โดยเฉพาะใบสับปะรดประมาณ 18,500 ตันต่อปี คณะผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องแยกใยจากใบสับปะรด โดยลักษณะเครื่องจักรที่พัฒนาใช้มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้าเป็นต้นกำลัง เพื่อใช้ในการขับชุดใบมีดขูดใบสับปะรด โดยจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา มีกำลังการผลิตมากกว่าการใช้แรงงานคน สามารถแยกเส้นใยสับปะรดสด 7 กรัมต่อนาที และมีอัตราคุณภาพจากเครื่องจักร (10.08 %) ไม่แตกต่างกับแรงงานคน (10.85%) มีค่าต้นทุนการผลิตเครื่องแยกเส้นใยสับปะรด 40,000 บาท มีจุดคุ้มทุนที่การผลิตเส้นใยสับปะรด 325 กิโลกรัม
หมายเหตุ :
ดุษฎี บุญธรรม, และยสินทินี เอมหยวก (2564). การเพิ่มมูลค่าใบสับปะรดเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยเครื่องแยกเส้นใย. ใน การประชุมวิชาการ The 7th Engagement Thailand Annual Conference 2021 (น. 544-549). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เอกสารประกอบ