ข้อมูลนักวิจัย : เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง
รายละเอียดงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศและความจริงเสมือน ในการตรวจสอบงานโครงสร้างหลังคา
ปีที่จัดทำ : 2564
ผู้จัดทำ : เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง (
ผู้ร่วมวิจัย
)
ประเภทงานวิจัย :
การประชุมวิชาการระดับชาติ
สถานะ :
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์
แหล่งทุน :
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ : การประชุมวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26 “วิศวกรรมโยธากับการพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัด” สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี (2564)
วันที่ตีพิมพ์ : 2564
หน้าที่ : CEM-03-1 - CEM-03-9
ค่าถ่วงน้ำหนัก : 0.20
งบประมาณ : 0.00
บทคัดย่อ :
เนื่องด้วยงานก่อสร้างของงานในส่วนของโครงหลังคาในรูปแบบเดิมนั้นได้รับมาในรูปแบบ AutoCAD ซึ่งพบว่ามีอุปสรรคในการ ควบคุมงานก่อสร้าง การสื่อสาร การสั่งงาน การควบคุมงานและการตรวจงาน อันเกิดมาจากการมองรูปแบบการติดตั้งแบบ 2 มิติ ซึ่งก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการทำงาน เช่น ตำแหน่งของการเชื่อมโครงหลังคาที่เชื่อมต่อกันในจุดที่ซับซ้อน ระยะหรือตำแหน่งต่างๆ ในการติดตั้งโครงหลังคาจึงมีโอกาสสูงที่เมื่อดำเนินการติดตั้งแล้วตำแหน่งไม่ถูกต้อง และมีโอกาสขัดแย้งในงานส่วนอื่น ซึ่งเมื่อมีการปรับแก้ในภายหลัง จะก่อให้เกิดส่งผลเสียต่องานก่อสร้าง ทั้งด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้นและเวลาที่สูญเสียไป การศึกษานี้จึงได้นำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ในการทำแบบจำลองสามมิติมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีความจริงเสมือน ในการถ่ายทอดให้เห็นแบบติดตั้งให้เหมือนของจริงและตำแหน่งจริงของพื้นที่งานก่อสร้างจริง แล้วให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำแบบทดสอบประเมินความพึงพอใจก่อนและหลังจำนวน 40 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ประเมินความถูกต้องของแบบติดตั้ง ความยุ่งยากในการใช้งาน แนวโน้มการไปใช้ในอนาคต โดยได้รับผลตอบรับที่ดีโดยประโยชน์ที่เห็นได้ชัด 3 ลำดับแรก คือ ช่วยสร้างความเข้าใจในแบบจำลองสามมิติทางโครงสร้าง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และช่วยในการวางแผนงานก่อสร้างโครงหลังคาทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
เนื่องด้วยงานก่อสร้างของงานในส่วนของโครงหลังคาในรูปแบบเดิมนั้นได้รับมาในรูปแบบ AutoCAD ซึ่งพบว่ามีอุปสรรคในการ ควบคุมงานก่อสร้าง การสื่อสาร การสั่งงาน การควบคุมงานและการตรวจงาน อันเกิดมาจากการมองรูปแบบการติดตั้งแบบ 2 มิติ ซึ่งก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการทำงาน เช่น ตำแหน่งของการเชื่อมโครงหลังคาที่เชื่อมต่อกันในจุดที่ซับซ้อน ระยะหรือตำแหน่งต่างๆ ในการติดตั้งโครงหลังคาจึงมีโอกาสสูงที่เมื่อดำเนินการติดตั้งแล้วตำแหน่งไม่ถูกต้อง และมีโอกาสขัดแย้งในงานส่วนอื่น ซึ่งเมื่อมีการปรับแก้ในภายหลัง จะก่อให้เกิดส่งผลเสียต่องานก่อสร้าง ทั้งด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้นและเวลาที่สูญเสียไป การศึกษานี้จึงได้นำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ในการทำแบบจำลองสามมิติมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีความจริงเสมือน ในการถ่ายทอดให้เห็นแบบติดตั้งให้เหมือนของจริงและตำแหน่งจริงของพื้นที่งานก่อสร้างจริง แล้วให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำแบบทดสอบประเมินความพึงพอใจก่อนและหลังจำนวน 40 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ประเมินความถูกต้องของแบบติดตั้ง ความยุ่งยากในการใช้งาน แนวโน้มการไปใช้ในอนาคต โดยได้รับผลตอบรับที่ดีโดยประโยชน์ที่เห็นได้ชัด 3 ลำดับแรก คือ ช่วยสร้างความเข้าใจในแบบจำลองสามมิติทางโครงสร้าง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และช่วยในการวางแผนงานก่อสร้างโครงหลังคาทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
หมายเหตุ :
เจตนิพัทธ์ ตะปานนท์, วิชิตา ท้าวหน่อ, พรพจน์ นุเสน, เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง, และมานพ แก้วโมราเจริญ. (2564). การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศและความจริงเสมือน ในการตรวจสอบงานโครงสร้างหลังคา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26 “วิศวกรรมโยธากับการพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัด” (น. CEM-03-1 - CEM-03-9). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เจตนิพัทธ์ ตะปานนท์, วิชิตา ท้าวหน่อ, พรพจน์ นุเสน, เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง, และมานพ แก้วโมราเจริญ. (2564). การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศและความจริงเสมือน ในการตรวจสอบงานโครงสร้างหลังคา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26 “วิศวกรรมโยธากับการพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัด” (น. CEM-03-1 - CEM-03-9). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.